Search

เปิดธุรกิจคลายล็อกทั่วประเทศ เอกชนห่วงการเมืองปัจจัยเสี่ยง - ประชาชาติธุรกิจ

bussinesfor.blogspot.com
(Photo by Mladen ANTONOV / AFP)

คลายล็อกเฟส 5 คืนประเทศสู่ภาวะเกือบปกติ ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือน เปิดธุรกิจเสี่ยง ผับ บาร์ อาบอบนวด โรงเบียร์ อุทยาน โรงแรม-นักธุรกิจต่างชาติเดินทางเข้าไทยได้ 1 ก.ค.นี้ กกร.จ่อปรับจีดีพีหลังปลดล็อกครบ 5 เฟส ส.อ.ท.มั่นใจกระตุ้นเศรษฐกิจกว่าหมื่นล้าน หอการค้าห่วง “เศรษฐกิจโลกซึม-การเมืองไม่นิ่ง” กระทบการเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจหลังคลายล็อกดาวน์

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เห็นชอบให้ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์เฟส 5 ตามข้อเสนอของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ชุดใหญ่ พร้อมทั้งให้ขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไปอีก 1 เดือน จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2563

คลายล็อก 5 กิจการ

สำหรับการคลายล็อกใน 5 กลุ่มกิจการ/กิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง คือ 1.เปิดโรงเรียน : ทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งหมด 2.ห้างสรรพสินค้า คอมมิวนิตี้มอลล์ : โดยที่ประชุมเสนอเพิ่มเติมว่า ให้ปิดเวลา 22.00 น. ส่วนร้านสะดวกซื้อเปิดได้ 24 ชั่วโมง 3.ผับ บาร์ คาราโอเกะ : เปิดได้ไม่เกิน 24.00 น. ห้ามไปต่อร้านข้าวต้ม 4.ร้านเกม อินเทอร์เน็ต : อายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้บริการห้ามเกิน 20.00 น./อายุ 15-18 ปี ใช้บริการห้ามเกิน 22.00 น. ส่วนอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ใช้บริการได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง และ 5.โรงน้ำชา อาบอบนวด : กลุ่มพนักงานต้องมีการตรวจโรคอื่น ๆ และห้ามมีการค้าประเวณีเด็ดขาด

พร้อมกันนี้ อนุญาตให้ผู้ที่เข้ามาในราชอาณาจักร ในการขยายกลุ่มชาวต่างชาติที่สามารถเดินทางเข้าไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศเสนอเพิ่มชาวต่างชาติบุคคล 6 กลุ่ม ประกอบด้วย คู่สมรส และบุตรของผู้มีใบอนุญาตทำงานหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ทำงานในราชอาณาจักรไทย ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีถิ่นฐานที่อยู่ในราชอาณาจักร คู่สมรสต่างชาติและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสัญชาติไทย ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยที่มีความจำเป็นต้องเข้ามารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทยและผู้ติดตาม นักเรียน นักศึกษาต่างชาติและผู้ปกครอง ผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการอนุญาตให้เดินทางเข้าราชอาณาจักรตามข้อตกลงพิเศษ (special arrangement) กับประเทศเป้าหมาย

เอกชนประเมิน เศรษฐกิจฟื้นปีหน้า

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ ทางคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ซึ่งประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย จะมีการประชุมและประเมินสถานการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากที่ไทยได้มีการประกาศใช้มาตรการคลายล็อกดาวน์ครบ 5 เฟสแล้ว โดยในการประชุม กกร.เมื่อต้นเดือน มิ.ย. ได้คงประมาณการอัตราขยายตัวเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 2563 ว่าจะหดตัวในกรอบ -5.0% ถึง -3.0% การส่งออกอาจหดตัว -10.0% ถึง -5.0% แต่ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ได้ปรับลดตัวเลขจีดีพีไทยว่าจะ -7.7% จากปี 2562 ที่คาดว่าจะขยายตัว 2.4% และจะฟื้นตัวในปี 2564 ที่คาดว่าขยายตัว 5%

คลายล็อกเงินสะพัดหมื่นล้าน

“ในส่วนของการคลายล็อกดาวน์เฟส 5 ใน 5 กลุ่มธุรกิจนั้น ไม่เพียงจะส่งผลดีต่อธุรกิจบริการ ธุรกิจบันเทิงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่ออุตสาหกรรมการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งคาดว่ามาตรการครั้งนี้จะช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท”

ขณะเดียวกัน มาตรการที่อนุญาตให้นักธุรกิจต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามายังประเทศไทยได้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ช่วยให้การดำเนินธุรกิจทำได้ดีขึ้น และมีผลต่อเศรษฐกิจเติบโตได้ดีขึ้น หรือลบน้อยลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่คั่งค้างอยู่ในช่วงครึ่งปีแรกจะสามารถดำเนินการได้ต่อเนื่อง สำหรับประเทศกลุ่มแรกที่อนุญาต อาทิ เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง ก็ล้วนแต่เป็นนักลงทุนหลักที่เข้ามาลงทุนในไทย ส่วนโอกาสที่จะมีการลงทุนในโครงการใหม่ ๆ นั้นมองว่ายังไม่เห็นผลในทันที เพราะนักลงทุนคงต้องชะลอดูสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ก่อน โดยเฉพาะเรื่องการผลิตวัคซีน และผลจากการแพร่ระบาดก็ทำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปสู่รูปแบบใหม่ new normal ซึ่งจะมีผลต่อภาคธุรกิจด้วย อย่างไรก็ตามมองว่า รัฐบาลควรมุ่งเน้นส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่น (local economy) ก่อน

รีสตาร์ตธุรกิจแต่คนไม่มั่นใจ

นายกลินท์ สารสิน ประธานหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะทำงานกลุ่มมาตรการสำหรับการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การคลายล็อกดาวน์ครบ 5 เฟส นับจากเฟสแรก เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2563 เป็นไปตามกรอบไทม์ไลน์ที่เคยวางไว้ว่าจะสามารถกลับมาประกอบธุรกิจทั้งหมดได้ภายใน 2 เดือน แต่ก็ยังห่วงปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งอาจจะกระทบทั่วโลก ทำให้ไม่มั่นใจที่จะจับจ่ายใช้สอยในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า และที่สำคัญ ไทยยังมีปัจจัยเรื่องการเมืองเป็นอีกปัจจัยหนึ่งส่งผลเชื่อมโยงต่อการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจด้วย

“ภาคเอกชนต้องการเห็นการเมืองนิ่ง หากจะมีการปรับเปลี่ยนก็ควรจะเลือกบุคคลที่เข้าใจบริบทปัจจุบันและสามารถสานต่อการทำงานนโยบายหลัก ๆ ได้ทันที โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด การแก้ปัญหาหนี้ (NPL) ของคนไทย การแก้ปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการ กกร.จะต้องมีการทบทวน situation ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงทั้งหมด”

สำหรับการพิจารณาอนุญาตให้นักธุรกิจต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามาในประเทศไทยนั้น ทางหอการค้าฯเสนอไปว่า ผู้ที่จะขออนุญาตเข้ามาจะต้องผ่านการตรวจรับรองว่าไม่มีเชื้อโควิดจากประเทศต้นทางก่อน และเมื่อเดินทางมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิแล้วต้องตรวจอีกครั้ง โดยส่งผลตรวจสอบไปที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งจะทราบผลภายใน 3 ชั่วโมง หากไม่พบว่ามีเชื้อก็ไม่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง 14 วัน ซึ่งหากเงื่อนไขเป็นไปตามนี้จะทำให้การดำเนินธุรกิจต่อเนื่องได้ แต่หากยังต้องเฝ้าระวัง 14 วัน ก็จะเท่ากับเงื่อนไขเดิม




July 02, 2020 at 07:11AM
https://ift.tt/3isULXh

เปิดธุรกิจคลายล็อกทั่วประเทศ เอกชนห่วงการเมืองปัจจัยเสี่ยง - ประชาชาติธุรกิจ

https://ift.tt/3dXvwcw


Bagikan Berita Ini

0 Response to "เปิดธุรกิจคลายล็อกทั่วประเทศ เอกชนห่วงการเมืองปัจจัยเสี่ยง - ประชาชาติธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.