“DITP” ดันหลักสูตร “ความรู้เบื้องต้นธุรกิจส่งออก” กระตุ้นการส่งออกไทย เตรียมดัน 20 หลักสูตรติวเข้ม ปั๊มยอดขายผู้ประกอบการปลายปี
นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP เปิดเผยว่า กรมฯ โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ “เอ็นอีเอ” (NEA) ได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ความรู้เบื้องต้น ในการประกอบธุรกิจส่งออก” หลักสูตรเพื่อสนับสนุนการส่งออกต้นฉบับของไทยที่ครอบคลุมทุกเนื้อหามาอย่างยาวนาน จากรุ่นที่ 1 จนถึงปัจจุบัน รุ่น 137 (ในรูปแบบออฟไลน์)ประกอบด้วยหัวข้อ เตรียมธุรกิจอย่างไรให้เป็นผู้ส่งออกการสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อพิชิตตลาดโลก
ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจส่งออก –นำเข้า และระบบ Logistics การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สำหรับการส่งออก เอกสารและการเงินเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ Workshop : ครบเครื่องเรื่องส่งออก สิทธิประโยชน์ด้านภาษีและพิธีการศุลกากร ข้อควรระวังสำหรับการส่งสินค้าสู่ตลาดสากล ซึ่งที่ผ่านมาสามารถสร้างทักษะด้านการส่งออกรอบด้าน ช่วยให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในการนำสินค้าไทยไปเติบโตในตลาดต่างประเทศและสามารถต่อยอดการทำธุรกิจให้สามารถส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ และได้รับการยอมรับมากขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการส่งออกของประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวที่ดีอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการหลายสาขาให้ความสนใจในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น จนเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวในแต่ละปี แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจเพื่อการส่งออก แต่ยังขาดทั้งความรู้ โอกาสในการเข้าถึงการสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ ขาดความเข้าใจในกระบวนการทำการค้าระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อน
รวมถึงขาดข้อมูลเกี่ยวกับตลาดปลายทางและนโยบายส่งออกระดับมหภาค จนทำให้ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการการส่งออกสินค้า เหมือนผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ได้ ดังนั้น กรมฯ จึงได้เห็นความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการส่งออกหน้าใหม่ ๆ ให้เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในระดับภูมิภาค รวมถึงส่งเสริมให้รายเก่าสามารถทำธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง เพื่อให้สามารถขยายไปสู่ตลาดที่มีศักยภาพและดำเนินธุรกิจให้เป็นไปอย่างยั่งยืน เพื่อให้กิจกรรมการส่งออกไทยมีศักยภาพ และกระจายโอกาสการค้าระหว่างประเทศให้เพิ่มอย่างต่อเนื่อง
นางอารดา เฟื่องทอง ผู้อำนวยการ NEA สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กล่าวว่า การฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ “ความรู้เบื้องต้นในการประกอบธุรกิจส่งออก” รุ่นที่ 137 รุ่นล่าสุดมีผู้เข้าร่วมจำนวน 100 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มธุรกิจอาหาร สิ่งทอเสื้อผ้าและเครื่องประดับแฟชั่น ของขวัญ และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน การจัดหลักสูตรนี้สถาบันมีความมุ่งหวังเพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้สามารถดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศในเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามหลักสูตรนี้ยังถือเป็นหลักสูตรแรกเริ่มที่ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องเรียนรู้ขั้นตอนการส่งออกตั้งแต่พื้นฐาน ศึกษากฏระเบียบด้านภาษีและพิธีการศุลกากร รวมถึงเข้าร่วมกิจกรรม Workshop ร่วมกับผู้ประกอบการมากมาย เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแรงของเครือข่ายผู้ประกอบการ อีกทั้งวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากโครงการดังกล่าว จะมาร่วมแบ่งปันเทคนิคการทำการค้าระหว่างประเทศให้ครอบคลุมทุกรอบด้าน และแนะนำข้อควรระวังจากการส่งออก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการสามารถทำการค้าระหว่างประเทศได้อย่างประสบความสำเร็จ
นอกเหนือจากหลักสูตรดังกล่าว สถาบัน NEA ยังได้มีการจัดทำหลักสูตรอื่น ๆ ควบคู่ไปพร้อมกันกับหลักสูตรความรู้เบื้องต้นในการประกอบธุรกิจส่งออก ผ่านการเรียนรู้รูปแบบ E-Learning ภายใต้ชื่อ “E-Academy” เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและปูพื้นฐานผู้ประกอบการก่อนการส่งออก และให้สามารถเข้าสู่กระบวนการค้าระหว่างประเทศที่มีบรรทัดฐานเดียวกัน ส่วนในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 ได้เตรียมเพิ่มอีกประมาณ 20 โครงการ เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถทำการค้ารูปแบบใหม่ รวมถึงการส่งออกได้เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหลักสูตรสัมมนาต่าง ๆ นั้นจะถูกปรับรูปแบบไปสู่ออนไลน์ เนื่องด้วยสถานการณ์ในบริบทโลก และเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการคุ้นชินกับระบบดังกล่าวให้มากขึ้น ซึ่งอยากให้ผู้ประกอบการติดตามโครงการของสถาบันอย่างใกล้ชิดและใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์
สำหรับในปี 63 ช่วงเวลาตั้งแต่ (เดือนตุลาคม 2562 – มีนาคม 2563)สถาบันได้จัดกิจกรรมอบรมและสัมมนาออนไลน์ทั้งสิ้น 44 ครั้ง จากทั้งหมด 61 หลักสูตร มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 6,000 ราย และสามารถนำเทคนิคและองค์ความรู้ที่ได้จากกรมฯ และสถาบัน ไปใช้ในทางธุรกิจก่อให้เกิดมูลค่าส่งออกจำนวน 776,219,810 บาท ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการได้รับความรู้ทักษะพื้นฐานจากโครงการของสถาบันและสามารถต่อยอดธุรกิจให้ก้าวเข้าสู่ระดับโลกได้ และทำให้เห็นว่าการเรียนผ่านระบบออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ และไม่เป็นอุปสรรค ซึ่งในระยะต่อไปภาครัฐหรือหน่วยงานสนับสนุนจำเป็นต้องผลิตหลักสูตรที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อให้ทุก ๆ กิจกรรมดำเนินไปอย่างคล่องตัว
จากการก่อตั้งสถาบันตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน พบว่าผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจในการเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ อาทิ การอบรมผ่านหลักสูตรออนไลน์ การใช้ออนไลน์เป็นช่องทางในการค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนของจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการกับสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่นั้น พบว่า 5 อันดับหลักสูตรที่ได้รับความนิยมผ่านช่องทางการเรียนรู้ของ E-Learning นั้น ได้แก่ อันดับ 1 หลักสูตรความรู้เบื้องต้นในการประกอบธุรกิจส่งออก อันดับ 2 หลักสูตรการขายสินค้าออนไลน์แบบข้ามพรมแดน อันดับ 3 หลักสูตรการตลาดดิจิทัลเพื่อเน้นผลลัพธ์ทางธุรกิจ อันดับ 4 หลักสูตรการตลาดดิจิทัล และ อันดับ 5 หลักสูตรสตาร์ทอัพเบื้องต้น
June 17, 2020 at 05:25PM
https://ift.tt/2N8XxT2
"DITP” ดันหลักสูตร “ความรู้เบื้องต้นธุรกิจส่งออก” กระตุ้นการส่งออกไทย - ฐานเศรษฐกิจ
https://ift.tt/3dXvwcw
Bagikan Berita Ini
0 Response to ""DITP” ดันหลักสูตร “ความรู้เบื้องต้นธุรกิจส่งออก” กระตุ้นการส่งออกไทย - ฐานเศรษฐกิจ"
Post a Comment