แน่นอนว่าระดับกิจกรรมทางธุรกิจจะยังไม่ขึ้นมาเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด- 19 จากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรตามคำนิยามว่า “New Normal” แต่ในโลกการลงทุน สิ่งที่ควรจับตา คืออัตราความเร็ว (Rate of Changes) ของกิจกรรมที่ทยอยกลับมาของแต่ละประเทศ เพราะประเทศที่กลับมาได้ยิ่งเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีต่อการฟื้นตัวของ GDP ซึ่งหมายถึงโอกาสในการลงทุน รวมทั้งการปรับพอร์ตอย่างทันท่วงที
จากการศึกษาของธนาคาร Lombard Odier ระบุว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่ละประเทศแบ่งได้เป็น 2 ขั้น คือ 1.การฟื้นตัวทันทีหลังคลายล็อกดาวน์ ซึ่งจะเกิดขึ้นรวดเร็ว และ 2.การฟื้นตัวระยะกลาง ซึ่งจะช้ากว่า เพราะขึ้นกับสภาวะเศรษฐกิจจริงในอนาคต โดยแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความเร็วในการฟื้นตัวต่างกัน แน่นอนว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากโควิด-19 อย่างโรงแรม และสายการบิน จะใช้เวลานานกว่าอุตสาหกรรมอื่น รวมถึงการว่างงานที่จะไม่ฟื้นตัวทันที แต่คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ไตรมาส ในการให้บริษัทกลับมาจ้างงานเทียบเท่าระดับก่อนการแพร่ระบาด โดยธนาคาร Lombard Odier ได้วิเคราะห์กิจกรรมทางธุรกิจจาก Big Data ที่มีจำนวนมากและเก็บได้รวดเร็ว มาเสริมข้อมูลทางการที่ล่าช้า เช่น หากต้องการวิเคราะห์การค้าจีนทั้งส่งออกและนำเข้า ปกติ ต้องรออีก 1 เดือนให้หลังกว่าจะได้ข้อมูลทางการ โดยข้อมูลล่าสุดยังเป็นของเดือนพ.ค.2020 แต่ถ้าใช้ข้อมูลจากดาวเทียมที่ติดตามเรือพาณิชย์ที่เข้าและออกจากท่าเรือต่างๆ ของจีน ซึ่งได้ข้อมูลภายใน 24 ชั่วโมง ก็จะสามารถจับทิศทางได้อย่างทันท่วงที ไม่เพียงเท่านั้น เพื่อเพิ่มความแม่นยำ ทางธนาคาร Lombard Odier ยังหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล Big Data กับข้อมูลที่ทางการรายงานจริงภายหลัง พบว่ามีความใกล้เคียงกันสูงมาก
ทั้งนี้ ธนาคาร Lombard Odier แบ่งสัญญาณติดตามจากการใช้ Big Data 7 สัญญาณ ดังนี้
1. การนำเข้า - เพื่อวัดความต้องการบริโภคภายในประเทศ
2. การส่งออก - เพื่อวัดความต้องการบริโภคภายนอกประเทศ
3. ระดับความแออัดในเมือง - เพื่อวัดระดับกิจกรรม สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้คนในการออกจากบ้านเพื่อใช้ชีวิตประจำวัน
4. สถิติการเดินทาง - เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงและปริมาณผู้คนที่กำลังขับรถ เดิน หรือใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
5. การบริโภคค้าปลีก - เพื่อวัดความต้องการบริโภค รวมถึงศึกษาประเภทร้านค้าที่ผู้คนเข้าใช้บริการและประเภทสินค้าที่ผู้คนนิยมซื้อ
6. จำนวนคนทำงานที่ออฟฟิศ - เพื่อวัดระดับกิจกรรมทางธุรกิจผ่านการเปลี่ยนแปลงของจำนวนพนักงานที่ทำงานก่อนและหลังการคลายล็อกดาวน์
7. คุณภาพอากาศ - เพื่อวัดระดับกิจกรรมการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผ่านปริมาณการปล่อยของเสียในอากาศ
บทสรุป จาก Big Data นี้ พบว่า...
· กิจกรรมทางธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ G20 ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
· ประเทศออกมาตรการล็อกดาวน์เร็ว จะกลับมาเปิดเศรษฐกิจได้เร็ว เช่น เยอรมนีที่ฟื้นเร็ว กว่าอังกฤษ
· การกลับมาของกิจกรรมทางธุรกิจโลกจึงถูกแบ่งออกตามภูมิภาคคือ ฝั่งเอเชียที่จะสามารถฟื้นตัวได้ดีและเร็วกว่า ตามมาด้วยภูมิภาคยุโรป ส่วนสหรัฐและอังกฤษจะฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ
· กิจกรรมทางธุรกิจโลกจะปรับสู่ระดับมากกว่า 85% ของความสามารถทั้งหมดภายในปีนี้ นำโดยการฟื้นตัวในเกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น
หากพิจารณาการฟื้นตัวของกิจกรรมทางธุรกิจเทียบกับการฟื้นตัวของตลาดทุนจากจุดต่ำสุดในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จะพบถึงการฉีกออกจากกันชัดเจน เพราะตลาดทุนโดยเฉพาะราคาสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น และหุ้นกู้ ต่างรีบาวด์กลับขึ้นมาอย่างรวดเร็วแบบแพทเทิร์นตัว V ขณะที่คาดการณ์กำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกกำลังถูกปรับลดตามทิศทางเศรษฐกิจที่จะยังไม่กลับสู่ระดับก่อนโควิด -19 ในปีนี้ ส่งผลให้การฟื้นตัวของตลาดหุ้นยังมีความเสี่ยงสูง และโอกาสปรับตัวขึ้นแรงต่อจากนี้มีจำกัด เพราะขาดทั้งปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและความแข็งแรงของธุรกิจมารองรับ โดยเฉพาะหากตลาดกังวลต่อการแพร่ระบาดระลอก 2 แม้เรามองว่าประเทศส่วนใหญ่จะสามารถควบคุมได้ดีกว่ารอบแรก แต่ตลาดทุนย่อมได้รับผลกระทบ ดังนั้น การดำรงสภาพคล่องให้เพียงพอ รวมทั้งการจัดพอร์ตการลงทุนที่ผสมผสานความสมดุลระหว่างพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น และทองคำ ยังคงความสำคัญเสมอ
June 19, 2020 at 05:01AM
https://ift.tt/2UVbXKQ
Big data ชี้ธุรกิจกว่า 85% จะเปิดปกติ | ศิริพร สุวรรณการ - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/3dXvwcw
Bagikan Berita Ini
0 Response to "Big data ชี้ธุรกิจกว่า 85% จะเปิดปกติ | ศิริพร สุวรรณการ - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment