Search

โควิดคือโอกาส "ปตท." เขย่าพอร์ตรับเทรนด์โลก ต่อยอดธุรกิจไลฟ์สไตล์-สุขภาพ - ประชาชาติธุรกิจ

bussinesfor.blogspot.com

ปตท.เขย่าพอร์ตลงทุนรับเทรนด์พลังงานโลก ชู กลยุทธ์ 4R แง้มไอเดียต่อยอดธุรกิจไลฟสไตล์-สุขภาพ ชี้วิกฤตโควิด-19 คือโอกาสสร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์กร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 23 ก.ย. 2563 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในงาน สัมมนา “BATTLE STRATEGY แผนฝ่าวิกฤต พิชิตสงคราม EPISODE II : Don’t Waste a good Crisis” จัดโดย “ข่าวหุ้นธุรกิจ” ในหัวข้อ ถอดรหัส…กลยุทธ์ Reimagination ว่า

ก่อนหน้านี้ ในช่วงปลายปี 2562 ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันได้รับผลกระทบคลื่นแรกครั้งใหญ่ก่อนจะเผชิญวิกฤตโควิด-19 เริ่มจากสถานการณ์ซาอุดีอาระเบีย มีการผลิตน้ำมันนอกโควตาจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาน้ำมันลดดิ่งลงมาเหลือ 30 กว่าเหรียญฯ/บาร์เรล

กระทั่งมาถึงช่วงโควิดที่ระบาดหนักต้นปี ราคาลดลงเรื่อยๆ ซึ่งขณะนี้เริ่มปรับเข้าสู่ภาวะปกติเเล้ว ทั้งจากปัจจัยภายนอก อาทิ ความตกลงกันระหว่างโอเปกกับรัสเซีย ประกอบกับปัจจัยในประเทศ รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ราคาปรับตัวอยู่ที่ 40 เหรียญฯ/บาร์เรล ทั้งที่ ก่อนหน้านี้คงามต้องการน้ำมันทั้งโลก อยู่ที่ 100 บาร์เรลต่อวัน

เมื่อทุกประเทศมีมาตรการป้องกันโควิด กำลังผลิตจึงล้น โดย ปตท. หายไป 10% อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้จะไม่สามารถดึงราคากลับไปที่ 60 เหรียญฯ/บาร์เรล แต่คาดการณ์ราคาน้ำมันทั้งปีจะอยู่ที่ 40 กว่าเหรียญฯ/บาร์เรล บวกลบไม่น่าจะมากไปกว่านี้

นอกจากนี้ บริษัทเองพร้อมปรับตัวรับมือกับความผันผวนของโลก ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ปตท.ก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยเช่นกัน จึงได้มีแผนจัดตั้งเซนเตอร์ขึ้นมาเพื่อประเมินผลกระทบแนวทางต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที โดยเริ่มจากริเริ่มแนวคิด 4R’s ของ ปตท. ที่มุ่งเน้นการสร้างประสิทธิภาพองค์กร

จัดลำดับความสำคัญเริ่มจาก Resilience ยืดหยุ่นลดต้นทุน แล้วทบทวนโครงการลงทุน Restart เตรียมความพร้อมในการนำธุรกิจ พนักงาน ลูกค้าและคู่ค้า กลับสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุดและรักษาความสามารถทางการแข่งขัน Re-imagination เตรียมออกแบบธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดเป็น Next normal

ทั้งการเติบโตในธุรกิจเดิมและธุรกิจใหม่ และ Reform พิจารณาปรับเปลี่ยนโดยจัดโครงสร้างองค์กรหรือรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ ให้สอดคล้องกับทิศทางในอนาคต พร้อมรองรับทุกสถานการณ์ที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น

“อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ว่า เราเริ่มจากสร้างความยืดหยุ่น เรื่มจากการลดค่าใช้จ่าย รวมแล้ว 20,000 กว่าล้าน แต่จะเห็นว่าผลกระทบหนัก คือ น้ำมันเครื่องบิน เปอร์เซ็นต์การกลั่นลดลงทุกกระบวนการผลิต ทำให้ต้องมาหารือ 3 บริษัท ระหว่างกลุ่มบริษัทลูก ปรับกำลังผลิต รวมทั้งประเมินปัจจัยที่แย่ที่สุด ประกอบกับเพิ่มสภาพคล่องให้องค์กร โดยการเพิ่มหุ้นกู้ มั่นใจว่ายืนระยะได้ต่อจากนี้”

ต่อมาจึงจะให้ restart โดย ปตท.ต้องเตรียมความพร้อมเมื่อสถานการณ์กลับมาปกติ จากการทำงานที่บ้าน กลับมาทำงานให้เต็มที่ ที่สำคัญคือการจ้างงาน เร่งโครงการเดิมให้กลับมา จ้างเด็กจบใหม่ 1,200 คน รวม 25,800 อัตรา และ Reform คร่าวๆ ว่าจะทำอย่างไรต่อไป

โดยเฉพาะ Reimagination จินตนาการหลังจากโควิด ปตท. มองว่า สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปหลังจากโควิด เทคโนโลยีจะเป็นตัวเร่ง เพราะฉะนั้นดิจิทัลมาแน่นอน ส่วนนโยบายการปรับแผนพลังงานภาพใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งยังคงเดินหน้าพลังงานสะอาด Go green

โดยลดสัดส่วนฟอสซิลลง นั่นคือถ่านหิน น้ำมัน แก๊ส ซึ่งเป็นพลังงานเปลี่ยนผ่าน ด้วยเทคโนโลยีสามารถขนส่งไปได้ LNG ดังนั้น ปตท. มองว่า เทรนด์นี้มาแน่นอน โดยเฉพาะผลิตไฟฟ้าให้สอดรับกับรักษาสิ่งแวดล้อม และ Go Electric พลังงานไฟฟ้าที่ต้องพัฒนาให้มากขึ้น

ประกอบกับ ปตท.สผ. ต้องมุ่งเน้นแก๊สให้มากขึ้น และคำนึงต้นทุนที่ดีที่สุดอยู่ที่ 25 เหรียญต่อบาร์เรล ให้ยืนระยะได้อย่างมั่นคง ดังนั้น แก๊ส ต้องเป็นภาพใหญ่ขึ้น LNG values chain มั่นใจว่า จะเป็น one of player ภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีทีมเพาเวอร์ที่อยากเห็นการเติบโต โดยมี GPSC เป็นผู้นำ

สำหรับธุรกิจโรงกลั่น ปตท.จะใช้กลยุทธ์การยืนระยะ ปรับคุณภาพให้อยู่ใน 25% แรกของตลาดโลก เมื่อความต้องการใช้ลดลงเราต้องเป็น last man standing เป็นที่มาของไทยออยล์ ที่ยังคงปรับคุณภาพอย่างยั่งยืน

เช่นเดียวกับ กลุ่มปิโตรเคมี จะมุ่งเน้นพัฒนาพลาสติกขั้นสูง รวมทั้งน้ำมันค้าปลีก เน้นสร้างแบรนด์ ให้เป็นศูนย์รวมชุมชน เพิ่มรายได้ชุมชนรอบๆ สถานีน้ำมัน พร้อมกิจกรรมเพื่อสังคม และ ปตท.มุ่งเน้นยกระดับแบรนดิ้งไทยแลนด์

ดังนั้น จะเห็นว่า บริษัท มุ่งเน้นปรับโครงสร้าง ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของพลังงานโลก รวมทั้งแบตเตอรี่ สมาร์ดกริด ประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าแต่ละโรงงาน ให้เพียงพอ ส่วนธุรกิจที่เป็นเทรนด์อนาคต คือ เทรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพ ปตท. อยู่นะหว่างหารือ ธุรกิจไลฟ์สไตล์ โดยเริ่มจากความร่วมมือ สร้างโรงงานต้านมะเร็งเร็วๆ นี้

“ความท้าทายที่เกิดขึ้น ผมมองว่าเป็นการบริหารพอร์ต ถ้าไปถูกที่ถูกเวลาแล้วมันโตมาก เช่น กาแฟ วันนี้เติบโตมาก และจริงๆ แล้วขอฝากทุกคนว่า โควิดป็นโอกาส เมื่อเกิดวิกฤตจะเห็นความร่วมมือขององค์กรได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ส่วนองค์กรใหญ่ หากถือโอกาสปรับตัวเองแล้วยังเป็นช่วงเวลาที่มีโอกาสพัฒนาสังคม จะเห็นว่าเราจะจ้างงาน ปตท. มีไอเดียว่าให้พนักงานเชิญชวนการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไปด้วยกันอีกทาง”




September 23, 2020 at 06:03PM
https://ift.tt/3hTXes3

โควิดคือโอกาส "ปตท." เขย่าพอร์ตรับเทรนด์โลก ต่อยอดธุรกิจไลฟ์สไตล์-สุขภาพ - ประชาชาติธุรกิจ

https://ift.tt/3dXvwcw


Bagikan Berita Ini

0 Response to "โควิดคือโอกาส "ปตท." เขย่าพอร์ตรับเทรนด์โลก ต่อยอดธุรกิจไลฟ์สไตล์-สุขภาพ - ประชาชาติธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.