- เบื่องานประจำ อยากทำอะไรสักอย่าง
- เหมือนว่าจะต้องได้อำลาจากงานประจำ แล้วก็ต้องทำอะไรสักอย่าง
- อำลาจากงานประจำแล้วล่ะ คิดว่าต้องทำอะไรสักอย่าง
- วาระใหม่ของชีวิตมาถึงแล้ว อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น
แต่ก็มีหลายเหตุผลมากมายร้อยแปด ที่หลายคนไม่ได้เริ่มธุรกิจ (สักที) ไม่ว่าจะเป็น การมีความ ‘อยาก’ แต่ก็ไม่รู้จะทำอะไร, ไม่เคยทำธุรกิจ ไม่มีความรู้ ไม่รู้จะปรึกษาใครดี, กลัวความไม่สำเร็จ กลัวเจ๊ง จนสุดท้ายก็จะมาจบที่เหตุผลที่หลายคนเชื่อว่าเป็นเหตุผลหลัก นั่นคือ “ไม่มีเงินทุน”
ดร. รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ในฐานะผู้คร่ำหวอดในแวดวงการเงินการธนาคาร กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า จริงๆ การอยากเป็นเจ้าธุรกิจและเดินตามสิ่งที่เขาว่ากันว่า หรือรอยทางความสำเร็จของผู้ที่เดินก่อนหน้า ก็อาจไม่ใช่แนวทางสู่ความสำเร็จเสมอไป ก็อย่างที่เราเห็น โลกเห็น หลายคนก็สามารถเจ๊งไม่เป็นท่า เพราะการเดินทางตามทุกรอยเท้าผู้อื่น โดยไม่รู้จักตัวเอง เป็นเหตุอันดับต้นๆ ที่จะเดินไปสู่หลุมพรางได้เสมอ
เช่นเดียวกับที่ “เงินทุน” หรือการมีทุน ก็ไม่ได้แปลว่า “มีความสำเร็จ” หรือต่อให้ได้รับการอนุมัติเงินกู้เพื่อเริ่มทำธุรกิจ ก็ไม่ได้หมายความว่า ความสำเร็จจะถูกรวมมาวางกองตรงหน้า แต่ไม่ว่าจะอย่างไร การเริ่มต้นทำธุรกิจก็ยังเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการมีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นได้ ว่าแต่ “ทางเริ่ม” และ “ทางรอด” อยู่ตรงไหนกัน
เงินทุน ไม่ได้สำคัญที่สุด จริงหรือลวง?
“คนตกงานกำลังจะมีเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญภายในสิ้นปีนี้ ตอนนี้คณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบศ.จึงมีนโยบายหนึ่งที่เข้าไปรองรับเพื่อป้องกันและช่วยเหลือคนในจำนวนอีกกว่า 500,000 คนที่กำลังจะพ้นรั้วมหาวิทยาลัยให้ไม่ต้องตกงาน โดยรัฐจะช่วยเอกชนจ่ายเงินพนักงานใหม่ครึ่งหนึ่ง สมมุติว่าเด็กจบใหม่ เงินเดือน 15,000 บาท บริษัทเอกชนจะจ่ายจริงครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่ง รัฐจะเป็นผู้จ่าย” ดร. รักษ์ เล่าถึงอีกหนึ่งกลไกที่เกิดขึ้น เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินในปัจจุบัน โดยเฉพาะจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ
“อีกส่วนหนึ่งที่ บสย. เราคิดคือจะดีกว่าไหม ถ้าเราได้สร้างอาชีพ น่าจะเป็นเรื่องดี ถ้าเราสามารถสร้างนักธุรกิจตัวเล็กๆ ขึ้นมา จนเขาสามารถยืนได้ด้วยลำแข้งตัวเอง ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในที่มาของผลิตภัณฑ์ของ บสย. ที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อดูแลอาชีพอิสระ ทั้งที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ที่ไม่สามารถเข้าสู่ระบบจ้างงานได้ รวมถึงอาชีพอิสระทั้งเป็นประเภทตกงานเสมือน หรือเสมือนตกงาน แล้วที่จะมีมากขึ้นในอนาคต ยกตัวอย่างบางอาชีพที่ไม่เป็นที่ต้องการในตลาดแล้วในปัจจุบัน สำหรับกลุ่มนี้เราจะมีหน่วยงานสำหรับฝึกสอนอาชีพให้ เพราะหลายคนในจำนวนเหล่านั้นก็ทำงานเดิมๆ มาทั้งชีวิต โดยที่ไม่เห็นหรือมีทักษะอื่นที่จะประกอบอาชีพอื่นได้ ก่อนที่จะเดินเข้าระบบของการปล่อยวงเงินสินเชื่อ”
เอ่ยถึงชื่อ บสย. มาตั้งแต่ต้น ก็เป็นที่น่าสนใจว่า บสย. คือใคร และกำลังทำอะไร…
“บสย. คือผู้คำประกันสินเชื่อ ที่หน้าที่อันดับแรกคือ การสร้างแรงจูงใจ ให้สถาบันการเงินปล่อยเงินกู้ให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงเงินทุนของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะคนในอาชีพอิสระทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่สถาบันการเงินต่างๆ จะปล่อยเงินกู้ให้สำหรับการทำธุรกิจ” ดร. รักษ์ วรกิจโภคาทร ในฐานะกรรมการและผู้จัดการทั่วไป ของ บสย. หรือ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ให้คำจำกัดความถึงหน้าที่หลักของ บสย. เอาไว้ข้างต้น
ดังนั้นสิ่งที่ บสย. ทำในวันนี้ จึงหมายถึงการทำให้เราผู้ซึ่งต้องการเงินกู้จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน กลายเป็นคนที่พร้อมหรือมีคุณสมบัติตรงกับที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินต้องการ แต่เพราะเงินทุนไม่ใช่ความจำเป็นอันดับแรกและเครื่องยืนยันความสำเร็จ การดำเนินนโยบายต่างๆ ตามระบบของ บสย. เพื่อให้ประชาชนพร้อมสำหรับการได้รับทุน หรือเงินกู้ ด้วยการเติมเต็มองค์ความรู้ที่จำเป็นลงไปด้วยส่วนหนึ่ง ก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจ นอกจากนี้ บสย. ยังทำงานภาคสนามมากขึ้น เดินออกไปหากลุ่มเป้าหมายโดยตรง พร้อมจับมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือกัน ตั้งแต่การพัฒนาอาชีพ การเติมความรู้ด้านการทำธุรกิจให้ การเป็นที่ปรึกษา ก่อนการพาเข้าถึงแหล่งเงินทุน สอดคล้องกับแนวคิดเรื่อง “นายธนาคารข้างถนน” ที่ต้องการเดินลงมาจากหอคอย แล้วอยู่เคียงข้างประชาชน
“แนวนโยบายเรื่อง “นายธนาคารข้างถนน” ของ บสย. มาจากความต้องการวางตัวเป็นคนธรรมดาๆ ที่เข้าถึงง่าย เป็นที่พึ่งได้สำหรับคนทุกระดับ ผ่านองค์ความรู้ เครื่องมือ และผู้เชี่ยวชาญที่เรามี เมื่อปีที่แล้วเรามีโครงการรักพี่วิน กระจายตัวอยู่ทั่วกรุงเทพฯ จากแนวคิดการลงไปสู่ฐานรากมากขึ้น แม้จะเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ แต่การเริ่มต้นในจุดเล็กๆ เพื่อการสร้างฐานรากที่แข็งแรง ก็เป็นที่มาของสังคมที่ดี”
บสย. อ้าแขนรับทุกคน
วันนี้ บสย. จึงปวารณาตัวเป็น “นายธนาคารข้างถนน” และอ้าแขนรับทุกคนที่แสวงหาโอกาสใหม่ในชีวิต ล่าสุดยังได้ขานรับมติ ครม. และกระทรวงการคลัง “ปลดล็อก Soft Loan พลัส ฟื้นวิกฤต SMEs” หนุนวงเงินค้ำฯ 57,000 ล้านบาท พร้อมความมั่นใจว่าจะสามารถช่วย SMEs ได้ทั่วถึงทุกกลุ่ม ผ่านโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างมากในสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น โครงการ “บสย. SMEs ชีวิตใหม่” วงเงิน 10,000 ล้านบาท, โครงการ “บสย. SMEs ไทยชนะ” ในวงเงิน 20,000 ล้านบาท, โครงการ “ไมโคร 3 รายย่อย รายจิ๋ว” วงเงิน 2,500 ล้านบาท, โครงการ “บสย. พลิกฟื้นท่องเที่ยว” 3,700 ล้านบาท โดยรายละเอียดโครงการและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ บสย. เหล่านี้ สามารถตรวจสอบเพิ่มเติมได้ที่ www.tcg.or.th
นอกจากนี้แล้ว บสย. ก็ยังมีสาขาอีกกว่า 11 แห่ง กระจายตัวอยู่ทั่วกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ที่วางตัวเป็นเสมือน “คลินิกธุรกิจ” ที่มีผู้เชี่ยวชาญตัวจริง มาคอยเป็นที่ปรึกษา ซึ่งให้คำปรึกษาตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่วันที่เต็มไปด้วยความอยากแต่ก็ไม่รู้ว่าควรจะทำอะไรดี วันที่ไม่มีทุน หรือวันที่ทุกอย่างกำลังถูกกัดกร่อน เรียกว่า เป็นที่ปรึกษาให้ตั้งแต่วันที่จะเริ่ม จนถึงวันที่จะเจ๊ง กันเลยทีเดียว
“เราอยากให้คนเข้ามาใช้บริการให้มากที่สุด อยากให้รู้ว่ามีคนที่พร้อมให้คำปรึกษาอยู่ตรงนี้จริงๆ ไม่ว่า คำถามในชีวิตของคุณคืออะไร ปัญหาในชีวิตคืออะไร อยากเดินไปในแนวทางไหน หรือยังไม่รู้เลยว่าจะเดินไปในแนวทางไหน ผู้เชี่ยวชาญที่ บสย. ก็พร้อมสำหรับพูดคุยเสมอ นอกจากสาขาต่างๆ ที่เรามี ซึ่งกระจายตัวอยู่เพื่อเป็นที่ปรึกษาในกรณีต่างๆ รวมถึงที่ปรึกษาทางด้านการเงิน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแล้ว เรายังมี คอลเซ็นเตอร์ โทร. 02 890 9999 ที่สามารถโทรศัพท์เข้ามาขอคำปรึกษาในแต่ละด้านได้ หรือในผู้ที่ประสบปัญหาอยู่ บสย. เองก็ช่วยเชื่อมต่อผ่านออนไลน์ ผ่าน LINE@หมอหนี้บสย. และในอนาคตอันใกล้ ก็ใช้การออนไลน์เพื่อทำงานมากขึ้น รวมถึงมีแผนสำหรับแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่จะเข้ามาสนับสนุนการทำงานมากขึ้น นี่ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เราพร้อมบริการประชาชน ไม่ว่าคุณจะกำลังเดินอยู่ในจุดไหนของชีวิต”
สำหรับคนทุกคนที่กำลังอยาก หรือกำลังคิดจะทำธุรกิจของตัวเอง ดร. รักษ์ ได้ฝากทิ้งท้ายแนวคิดที่น่าสนใจเอาไว้ด้วยว่า สิ่งที่อันตรายที่สุดในสังคมตอนนี้ โดยเฉพาะการทำธุรกิจคือ การเดินทางตามแนวทางของคนอื่นโดยที่ตัวเราไม่ได้รู้จักตัวเอง หลายครั้งหลุมพรางของชีวิตตรงหน้า ก็เกิดขึ้นจากการที่เราไม่รู้จักตัวเองดีพอ นอกจากนี้สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในชีวิต คือ การมี “Plan B” หรือแผนสำรองของชีวิต เพื่อให้เป็นเสมือนเครื่องยนต์สำรองเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินธุรกิจ หรือการใช้ชีวิต หากมี Plan B ก็จะช่วยให้เราบาดเจ็บน้อยลง ไม่ว่าหลุมพรางจะใหญ่แค่ไหนก็ตาม
: ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs
บสย. F.A. Center
ช่องทางการติดต่อ
Email : debt.doctor@tcg.or.th
Facebook : ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน – SMEs
เวลาทำการ วันจันทร์ – วันศุกร์ 08.30 น. – 16.30 น. (หยุดทำการวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์)
โทร. 065 507 8999 / 065 502 6999
September 25, 2020 at 06:01AM
https://ift.tt/2G44eFI
หลุมพรางธุรกิจ ล้มท่าไหนก็เจ็บ! ถ้าเริ่มไม่ถูก - ไทยรัฐ
https://ift.tt/3dXvwcw
Bagikan Berita Ini
0 Response to "หลุมพรางธุรกิจ ล้มท่าไหนก็เจ็บ! ถ้าเริ่มไม่ถูก - ไทยรัฐ"
Post a Comment